วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 20  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.




ความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้

            ได้รู้ถึงจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมี ดังนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  เช่น การรู้จักศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น  การบวก  ลบ
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสังเกต  (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัสรวมกันในการเรียนรู้
-เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเหตุการณ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขั้น
-เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

 ตัวอย่าง การจำแนกประเภท


ภาพของรูปทรงสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเด็กสามารถจำแนกประเภทได้หลายรูปแบบแล้วแต่ความคิดของเด็ก  เช่น

            จำแนกประเภทตามสี

        จำแนกประเภทตามรูปทรง

 จำแนนกประเภททั้งตามสีและรูปทรง

การเปรียบเทียบ (Comparing)
-เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของ วัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพา ของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

 ตัวอย่าง การเปรียบเทียบ

ภาพกระต่ายกับช้างเป็นภาพที่ให้เด็กได้เปรียบเทียบว่าสัตว์ทั้งสองตัวนี้มีส่วนที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เช่น ช้างตัวใหญ่กว่ากระต่าย  กระต่ายหางสั่นกว่าช้าง  เป็นต้น

การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

 ตัวอย่าง  การจัดลำดับ

ภาพนี้เป็นภาพที่ให้เด็กรู้จักการจัดลำดับ เช่น เรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กหรือจากเล็กไปใหญ่

การวัด (Measuremwnt)
-มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
-การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ

ตัวอย่าง การวัด


ภาพนี้ถ้าดูด้วยตาเด็กจะตอบว่าเส้นสองเส้นนี้ยาวไม่เท่ากัน แต่ถ้าเอาไปวัดแล้วเส้นสองเส้นนี้อาจมีความยาวที่เท่ากัน

การนับ (Counting)
-เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายต่อเมื่อ  เชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

รูปทรงและขนาด (Shar  and  size)
-เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ตัวเลข -  น้อย  มาก  น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มี  ทั้งหมด
ขนาด-  ใหญ่     ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย
รูปร่าง-  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม
ที่ตั้ง-  บน  ต่ำ  ขวา  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง
ค่าของเงิน-  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท
ความเร็ว-   เร็ว   ช้า   เดิน   วิ่ง   คลาน
อุณหภูมิ-  เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด

             หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปแล้วอาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรม วาดภาพสถานที่ ที่นักศึกษาเดินทางผ่านก่อนมาถึงห้องเรียน 3 สถานที่ด้วยกันให้เลือกเอาสถานที่ ที่ตนเองจำได้หรือประทับใจเมื่อเดินผ่านและสถานที่ที่ดิฉันผ่านนั้นก็ คือ 1. ลอล์สัน 108 
2.  ผ่านประตู 3 ประตูหลังมอ และ  3. ด้านหน้าอาคาร2ตึกคณะศึกษาศาสตร์





เมื่อวาดภาพเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ออกไปเล่าว่าใครผ่านสถานที่ใดบ้างและให้บอกว่าแต่ละสถานที่มีความเกี่ยวคล้องอะไรกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

              สำหรับสถานที่ที่ดิฉันผ่านนั้นมีความเกี่ยวคล้องกับคณิตศาสตร์ คือ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การสังเกต:ว่าสถานที่แต่ละสถานที่นั้นเป็นอย่างไร  การจำแนกประเภท:เด็กได้รู้ว่าสถานที่แต่ละสถานที่มีความเหมือนหรือความแต่งต่างกันอย่างไร การเปรียบเทียบ:เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบสถานที่  การจัดลำดับ:เด็กได้รู้จักการจัดลำดับก่อนหลัง รูปทรงและขนาด:เด็กได้รู้จักรูปทรงจากสถานที่ที่ตนเองผ่านและสามารถวาดออกมาเป็นรูปภาพได้






 

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 13  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


ความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้ 

          1.  ความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์  หมายถึง  ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญญาลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต หรือแบบรูปความสัมพันธ์ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ 


            2.  ความสำคัญของคณิตศาสตร์
-  เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
-  ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
-  เครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูลวางแผนงานและประเมินผล
-  เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          3.  ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ อยู่ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี
-  เด็กรู้จักประสาทสัมผัสต่างๆ
-  สามารถจดจำสิ่งต่างๆบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2 ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล(Preoperational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี
ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนักรูปทรงและความยาว
-  เล่นบทบาทสมมติซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
-  เด็กจะในความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
-  เด็กจะไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลไป
เช่น      ภาพวงกลม 2 ภาพนี้




              เมื่อเด็กเห็นภาพนี้เด็ก เด็กจะตอบว่า ภาพที่1 มีวงกลมน้อยกว่า ภาพที่2 แต่ในความเป็นจริงวงกลมทั้งสองภาพนี้มีจำนวนเท่ากัน
              แต่ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาการอนุรักษ์  เช่น  การนับ    การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง   การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร   เรียงลำดับ   จัดกลุ่ม  เหล่านี้แล้วเด็กก็จะสามารถบอกได้ว่าวงกลมที่เห็นนั้นมีจำนวนที่เท่ากัน

หลักการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดอย่างไร
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
-  ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฎิบัติ
-  ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-  ใช้คำถามปลายเปิด
เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

                 หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้ วาดภาพสัตว์อะไรก็ได้ตามที่ต้องการแต่มีข้อยกเว้นว่าสัตว์ที่วาดนั้นจะต้องมีขาจากนั้นเมื่อวาดเสร็จ อาจารย์ก็ให้ตัดกระดาษมาทำเป็นรองเท้าให้กับสัตว์ที่เราวาด

ผลงานที่ทำกิจกรรมในห้องเรียน



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
-  ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น
-  ได้รู้จักมุมมองของเด็กว่าเด็กมีความคิดความรู้สึกอย่างไร
-  ได้รู้จักหลักการจักประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าควรทำอย่างไรให้กับเด็ก
-  ได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมในห้อง
-  เกิดความสนุกสนานในการออกแบบชิ้นงานและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประได้ในอนาคตอีกด้วย








วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 6  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



กิจกรรมที่ทำในวันนี้

            วันนี้อาจารย์ได้ตั้งข้อตกลงในการเรียนกับนักศึกษา และ ให้ทำ Mind mapping สรุปความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับ วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนว่านักศึกษามีความรู้ในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด



Mind mapping






สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
-  ได้รู้ว่าตนเองนั้นมีความรู้ในเรื่องของราย วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นั้นว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใด

ได้ใช้ความคิดและความรู้สึกที่ตนเองมีใส่ลงไปในผลงาน