วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 12 เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .


สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
             วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนทั้งรู้สึกดีใจและเสียใจไปพร้อมๆกัน ดีใจที่จะได้ปิดเรียนแต่เสียใจที่จะไม่ได้เจอกับเพื่อนๆกลุ่มเดิมและเสียใจที่จะไม่ได้เรียนกับ อาจารย์อีกเพราะเทอมหน้าอาจารย์ไม่เปิดสอนปี3 รู้สึกเศร้าใจจัง>;<
                 การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอสื่อการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ3คน สื่อที่ทำนั้นจะต้องมีการนำไปทดลองใช้กับเด็กก่อนว่าสามารถใช้ได้หรือไม่และพบปัญหาอะไรในการใช้สื่อที่สำคัญสื่อที่ทำนั้นมีประโยชน์อะไรที่เกี่ยวคล้องกับคณิตศาสตร์บ้างแล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ

สื่อของกลุ่มดิฉัน  ชื่อ  นาฬิกาหรรษา 



วิธีการเล่น

1.    ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร

2.    ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก

3.    ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง


4.    ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือเป็นพระจันหรือพระอาทิตย์ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก 

เมื่อเด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
1.เด็กสามารถเรียงลำดับตัวเลขจาก 1-12 ได้
 2.เด็กสามารถบอกลักษณะรูปทรงแต่ละรูปทรงได้
 3.เด็กสามารถนำรูปภาพกิจวัตรมาใส่ช่องได้ถูกต้องตามช่วงเวลา เช่น ตอนเช้าจะต้องเป็นพระอาทิตย์ ตอนเย็นจะต้องเป็นพระจันทร์ 
 4.เด็กเกิดความสนุกสนานในการเล่น

ปัญหาที่พบ
1.เด็กที่อยู่อนุบาล 3 ไม่สามารถแยกแยะเข็มสั่นเข็มยาวของนาฬิกาได้ เด็กไม่สามารถหมุนได้ว่า เข็มสั้นจะชี้เลขใด และเข็มยาวจะชี้เลขใด
 2.เด็กที่อยู่อนุบาล 1 ไม่สามารถเล่นได้ เพราะยังแยกแยะเวลาไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวเลขและรูปทรง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้รู้จักเวลา และกิจวัตรประจำวัน
2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต และ เรื่องของพีชคณิต
3.ฝึกความคิดและการกล้าตัดสินใจ

สรุป
       จากการที่ได้นำสื่อคณิตศาสตร์ชิ้นนี้ไปทดลองเล่นกับเด็ก อนุบาล 1 และ อนุบาล 3 ผลปรากฏว่า เด็กชั้นอนุบาล 1 ไม่สามารถเล่นสื่อของเราได้ แต่เด็กชั้นอนุบาล 3 สามารถเล่นสื่อนาฬิกาหรรษาของเราได้ คือเด็กสามารถเรียงลำดับตัวเลขจาก 1-12 ได้ เด็กสามารถบอกลักษณะรูปทรงแต่ละรูปทรงได้ เด็กสามารถนำรูปภาพกิจวัตรมาใส่ช่องได้ถูกต้องตามช่วงเวลา


สื่อที่ดิฉันประทับใจ คือ "บันไดงูมหาสนุก"


เหตุผลที่ชอบ
          ที่ชอบชิ้นนี้เพราะว่าได้ลองเล่นแล้วเกิดความสนุกสนานได้ฝึกการบวกนับเลขและที่สำัญเพื่อนกลุ่มที่ออกแบบสื่อได้น่ารักมากชอบมากค่ะ


             สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
         จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำสื่อการสอนมากมายและสื่อแต่ละชิ้นมีแต่ชิ้นที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพราะเพื่อนได้ทำการนำไปให้เด็กได้เล่นแล้วและเด็กก็สามารถเล่นได้
การประยุกต์ใช้สามารถนำประยุกต์ใช้ทำสื่อต่างๆได้อีกมากมาย





บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 5 เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .




>>>> วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากท่าน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน   ติดภารกิจทางราชการจึงให้นักศึกษาไปเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ในอาทิตย์หน้า<<<<<







บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 29 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คนและให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการสอนกลุ่มละ3แผนโดยที่กำหนดให้ทั้ง3แผนนั้นต้องสอนเด็กให้ครบทุกระดับชั้นตั้งแต่ อนุบาล1-3 และให้ดูตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ควบคู่กับการเขียนแผนว่าควรเลือกสาระใดกับเด็กแต่ละชั้น และนี้คือภาพแผนที่กลุ่มของดิฉันได้ช่วยกันคิดและเขียนออกมาเพื่อใช้ในการสอนเด็กในแต่ละชั้น


แผนที่ 1  
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 1    กิจกรรม จังหวะพาเพลิน 



แผนที่ 2 
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม เวลาหรรษา



แผนที่ 3 
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 3 กิจกรรม รูปทรงแสนสนุก




สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้และทักษะในการเขียนแผนเป็นอย่างดีได้รู้จักวิธีและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าควรมีหลักการและขั้นตอนในการเขียนแบบใดและยังได้คำปรึกษาคำแนะนำดีจากท่าน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน ที่ให้ความรู้ในการเขียนแผนที่ถูกต้องทำให้ดิฉันและเพื่อนๆได้มีทักษะในการเขียนแผน เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าเมื่อได้เป็นครู 






บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 22 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้

            กิจกรรมที่ทำในวันนี้มี 2 กิจกรรม
       กิจกรรมที่ 1 เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสีโดยการยึดเอาทักษะการสอนในเรื่องของพีชคณิตเป็นหลังด้วย อาจารย์ก็ได้แบ่งกลุ่มแล้วก็ได้อธิบายถึงกิจกรรมที่จะให้ทำและได้นำเอาผลงานของเพื่อนๆมาให้ดูเป็นตัวอย่างจากนั้นก็ให้นักศึกษาคิดและจินตนาการตามความคิดสร้างสรรค์ในการทำชิ้นงานของกลุ่มตนเอง  จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษและอุปกรณ์อื่นๆ  สี   กรรไกร ไม้บรรทัด  กาว ให้ใช้กันเป็นกลุ่มๆ จากนั้นแต่ละกลุ่มก็ลงมือทำชิ้นงานของตนเอง


ผลงานของแต่ละกลุ่ม





ผลงานของกลุ่มดิฉัน
             กลุ่มของดิฉันทำผลงานชิ้นนี้เพราะว่าต้องการสอนเด็กในเรื่องคณิตศาสตร์ซึ่งมีการสอดแทรกในเรื่องของคณิตศาสตร์ เช่น  เรื่องของรูปทรงเลขาคณิต , พีชคณิต , จำนวนและตัวเลข และยังออกแบบสื่อที่น่ารักน่าสนใจทำให้เด็กยากที่จะเล่นยากที่จะเรียนรู้

ผลงานรวมเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จ




        เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จก็ได้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตนเองว่าชิ้นงานนั้นสามารถสอนอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้บาง


กิจกรรมที่ 2 
จากที่ได้ทำกิจกรรมที่1ไปแล้วก็ได้เริ่มทำกิจกรรมที่2ต่อเลย  อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม เหมื่อนเดิมแต่ให้เพิ่มจำนวนคนในกลุ่มให้มากขึ้นแล้วก็ได้แบ่งงานให้แต่ละกลุ่มว่าแต่ละกลุ่มจะได้ทำในหัวข้ออะไร  มีหัวข้อดังนี้ 1.การเปรียบเทียบ  2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง    3.การสำรวจสิ่งที่ชอบ  แล้วแต่ละกลุ่มก็เริ่มลงมือทำเมื่อเสร็จแล้วก็ออกมานำเสนอ

กลุ่มที่ 1 การเปรียบเทียบ  เป็นกลุ่มของดิฉันเองได้ทำการเปรียบเทียบเกี่ยวกับของใช้ในห้องนอนและห้องครัว ให้เด็กได้แยกว่าของใช้ชิ้นไหนที่อยู่ในห้องนอนและของใช้ชิ้นไหนที่อยู่ในห้องครัว ดังภาพ


           

          เมื่อให้เด็กแยกของใช้แล้วครูก็ทำการเขียนให้เด็กได้รู้ว่าของใช้ชิ้นนั้นมีชื่อเรียกว่าอย่างไรและเขียนอย่างไรสอนเรื่องภาษาให้กับเด็กด้วย จากนั้นก็สรุปของใช้ทั้งหมดว่ามีอะไรที่เป็นของใช้ในห้องนอนและมีอะไรที่เป็นของใช้ในห้องครัว

กลุ่มที่ การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง  เป็นการเปรียบเทียบเกียวกับสัตว์2ตัว คือ วัว กับ แมว ว่าสัตว์ทั้ง2ตัวนี้มีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร ดังภาพ

         หลังจากที่ถามความคิดเห็นของเด็กๆแล้วว่าสัตว์ทั้ง2ตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรครูก็เขียนให้เด็กได้ดูด้วยว่าสิ่งที่เด็กบอกนั้นเขียนอย่างไร

กลุ่มที่ การสำรวจสิ่งที่ชอบ  เป็นการสำตรวจสัตว์ที่เด็กๆชอบว่าเด็กภายในห้องชอบสัตว์อะไรมากที่สุดและชอบสัตว์อะไรน้อยที่สุดโดยครูยกตัวอย่างสัตว์มาให้เด็กได้เลือก  ดังภาพ
           เมื่อเด็กๆเลือกแล้วครูก็มาสรุปกับเด็กๆว่ามีสัตว์อะไรที่เด็กชอบมากที่สุดและสัตว์อะไรที่เด็กชอบน้อยที่สุดแล้วครูก็เขียนให้เด็กดู




สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

         จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำสื่อการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากมายและยังเป็นสื่อที่น่ารักและสามารถนำกลับมาทำเองและประยุกต์เป็นสื่อต่างๆได้อีกมากมายทำให้ดิฉันรู้สึกว่าการเรียนครั้งนี้มีความสุขสนุกสนานมากในการเรียนและ ยังสามารถนำไปสอนให้กับเด็กๆในอนาคตได้เป็นอย่างดีสอนให้เด็กได้รู้จักเรื่องของ รูปทรงเรขาคณิต การนับจำนวนและตัวเลข ขนาด การจำแนกสี การเรียงลำดับ เรียนรู้การเปรียบเทียบ การจำแนก สัตว์ สิ่งของ และยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเล่านิทานได้อีกด้วย