วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 12 เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .


สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
             วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนทั้งรู้สึกดีใจและเสียใจไปพร้อมๆกัน ดีใจที่จะได้ปิดเรียนแต่เสียใจที่จะไม่ได้เจอกับเพื่อนๆกลุ่มเดิมและเสียใจที่จะไม่ได้เรียนกับ อาจารย์อีกเพราะเทอมหน้าอาจารย์ไม่เปิดสอนปี3 รู้สึกเศร้าใจจัง>;<
                 การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนอสื่อการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ3คน สื่อที่ทำนั้นจะต้องมีการนำไปทดลองใช้กับเด็กก่อนว่าสามารถใช้ได้หรือไม่และพบปัญหาอะไรในการใช้สื่อที่สำคัญสื่อที่ทำนั้นมีประโยชน์อะไรที่เกี่ยวคล้องกับคณิตศาสตร์บ้างแล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ

สื่อของกลุ่มดิฉัน  ชื่อ  นาฬิกาหรรษา 



วิธีการเล่น

1.    ให้เด็กได้รู้จักกับนาฬิกาก่อนว่านาฬิกามีลักษณะอย่างไร

2.    ครูถอดชิ้นส่วนที่เป็นตัวเลขของนาฬิกาออก

3.    ให้เด็กประกอบชิ้นส่วนของนาฬิกาให้ถูกต้องตามตัวเลขและรูปทรง


4.    ให้เด็กเลือกภาพที่มีความสัมพันธ์กับเวลาแล้วนำไปเสียบด้านบนที่เป็นวงกลม ข้างซ้ายมือเป็นพระจันหรือพระอาทิตย์ส่วนข้างขวามือเป็นภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก 

เมื่อเด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
1.เด็กสามารถเรียงลำดับตัวเลขจาก 1-12 ได้
 2.เด็กสามารถบอกลักษณะรูปทรงแต่ละรูปทรงได้
 3.เด็กสามารถนำรูปภาพกิจวัตรมาใส่ช่องได้ถูกต้องตามช่วงเวลา เช่น ตอนเช้าจะต้องเป็นพระอาทิตย์ ตอนเย็นจะต้องเป็นพระจันทร์ 
 4.เด็กเกิดความสนุกสนานในการเล่น

ปัญหาที่พบ
1.เด็กที่อยู่อนุบาล 3 ไม่สามารถแยกแยะเข็มสั่นเข็มยาวของนาฬิกาได้ เด็กไม่สามารถหมุนได้ว่า เข็มสั้นจะชี้เลขใด และเข็มยาวจะชี้เลขใด
 2.เด็กที่อยู่อนุบาล 1 ไม่สามารถเล่นได้ เพราะยังแยกแยะเวลาไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวเลขและรูปทรง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้รู้จักเวลา และกิจวัตรประจำวัน
2.เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิต และ เรื่องของพีชคณิต
3.ฝึกความคิดและการกล้าตัดสินใจ

สรุป
       จากการที่ได้นำสื่อคณิตศาสตร์ชิ้นนี้ไปทดลองเล่นกับเด็ก อนุบาล 1 และ อนุบาล 3 ผลปรากฏว่า เด็กชั้นอนุบาล 1 ไม่สามารถเล่นสื่อของเราได้ แต่เด็กชั้นอนุบาล 3 สามารถเล่นสื่อนาฬิกาหรรษาของเราได้ คือเด็กสามารถเรียงลำดับตัวเลขจาก 1-12 ได้ เด็กสามารถบอกลักษณะรูปทรงแต่ละรูปทรงได้ เด็กสามารถนำรูปภาพกิจวัตรมาใส่ช่องได้ถูกต้องตามช่วงเวลา


สื่อที่ดิฉันประทับใจ คือ "บันไดงูมหาสนุก"


เหตุผลที่ชอบ
          ที่ชอบชิ้นนี้เพราะว่าได้ลองเล่นแล้วเกิดความสนุกสนานได้ฝึกการบวกนับเลขและที่สำัญเพื่อนกลุ่มที่ออกแบบสื่อได้น่ารักมากชอบมากค่ะ


             สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
         จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำสื่อการสอนมากมายและสื่อแต่ละชิ้นมีแต่ชิ้นที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพราะเพื่อนได้ทำการนำไปให้เด็กได้เล่นแล้วและเด็กก็สามารถเล่นได้
การประยุกต์ใช้สามารถนำประยุกต์ใช้ทำสื่อต่างๆได้อีกมากมาย





บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 5 เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .




>>>> วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากท่าน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน   ติดภารกิจทางราชการจึงให้นักศึกษาไปเตรียมความพร้อมในการนำเสนอสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ในอาทิตย์หน้า<<<<<







บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 29 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คนและให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนการสอนกลุ่มละ3แผนโดยที่กำหนดให้ทั้ง3แผนนั้นต้องสอนเด็กให้ครบทุกระดับชั้นตั้งแต่ อนุบาล1-3 และให้ดูตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ควบคู่กับการเขียนแผนว่าควรเลือกสาระใดกับเด็กแต่ละชั้น และนี้คือภาพแผนที่กลุ่มของดิฉันได้ช่วยกันคิดและเขียนออกมาเพื่อใช้ในการสอนเด็กในแต่ละชั้น


แผนที่ 1  
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 1    กิจกรรม จังหวะพาเพลิน 



แผนที่ 2 
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม เวลาหรรษา



แผนที่ 3 
 แผนการจัดกิจกรรมชั้น อนุบาล 3 กิจกรรม รูปทรงแสนสนุก




สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้และทักษะในการเขียนแผนเป็นอย่างดีได้รู้จักวิธีและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าควรมีหลักการและขั้นตอนในการเขียนแบบใดและยังได้คำปรึกษาคำแนะนำดีจากท่าน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน ที่ให้ความรู้ในการเขียนแผนที่ถูกต้องทำให้ดิฉันและเพื่อนๆได้มีทักษะในการเขียนแผน เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าเมื่อได้เป็นครู 






บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 22 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้

            กิจกรรมที่ทำในวันนี้มี 2 กิจกรรม
       กิจกรรมที่ 1 เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสีโดยการยึดเอาทักษะการสอนในเรื่องของพีชคณิตเป็นหลังด้วย อาจารย์ก็ได้แบ่งกลุ่มแล้วก็ได้อธิบายถึงกิจกรรมที่จะให้ทำและได้นำเอาผลงานของเพื่อนๆมาให้ดูเป็นตัวอย่างจากนั้นก็ให้นักศึกษาคิดและจินตนาการตามความคิดสร้างสรรค์ในการทำชิ้นงานของกลุ่มตนเอง  จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษและอุปกรณ์อื่นๆ  สี   กรรไกร ไม้บรรทัด  กาว ให้ใช้กันเป็นกลุ่มๆ จากนั้นแต่ละกลุ่มก็ลงมือทำชิ้นงานของตนเอง


ผลงานของแต่ละกลุ่ม





ผลงานของกลุ่มดิฉัน
             กลุ่มของดิฉันทำผลงานชิ้นนี้เพราะว่าต้องการสอนเด็กในเรื่องคณิตศาสตร์ซึ่งมีการสอดแทรกในเรื่องของคณิตศาสตร์ เช่น  เรื่องของรูปทรงเลขาคณิต , พีชคณิต , จำนวนและตัวเลข และยังออกแบบสื่อที่น่ารักน่าสนใจทำให้เด็กยากที่จะเล่นยากที่จะเรียนรู้

ผลงานรวมเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จ




        เมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จก็ได้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอชิ้นงานของกลุ่มตนเองว่าชิ้นงานนั้นสามารถสอนอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้บาง


กิจกรรมที่ 2 
จากที่ได้ทำกิจกรรมที่1ไปแล้วก็ได้เริ่มทำกิจกรรมที่2ต่อเลย  อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม เหมื่อนเดิมแต่ให้เพิ่มจำนวนคนในกลุ่มให้มากขึ้นแล้วก็ได้แบ่งงานให้แต่ละกลุ่มว่าแต่ละกลุ่มจะได้ทำในหัวข้ออะไร  มีหัวข้อดังนี้ 1.การเปรียบเทียบ  2.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง    3.การสำรวจสิ่งที่ชอบ  แล้วแต่ละกลุ่มก็เริ่มลงมือทำเมื่อเสร็จแล้วก็ออกมานำเสนอ

กลุ่มที่ 1 การเปรียบเทียบ  เป็นกลุ่มของดิฉันเองได้ทำการเปรียบเทียบเกี่ยวกับของใช้ในห้องนอนและห้องครัว ให้เด็กได้แยกว่าของใช้ชิ้นไหนที่อยู่ในห้องนอนและของใช้ชิ้นไหนที่อยู่ในห้องครัว ดังภาพ


           

          เมื่อให้เด็กแยกของใช้แล้วครูก็ทำการเขียนให้เด็กได้รู้ว่าของใช้ชิ้นนั้นมีชื่อเรียกว่าอย่างไรและเขียนอย่างไรสอนเรื่องภาษาให้กับเด็กด้วย จากนั้นก็สรุปของใช้ทั้งหมดว่ามีอะไรที่เป็นของใช้ในห้องนอนและมีอะไรที่เป็นของใช้ในห้องครัว

กลุ่มที่ การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง  เป็นการเปรียบเทียบเกียวกับสัตว์2ตัว คือ วัว กับ แมว ว่าสัตว์ทั้ง2ตัวนี้มีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร ดังภาพ

         หลังจากที่ถามความคิดเห็นของเด็กๆแล้วว่าสัตว์ทั้ง2ตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรครูก็เขียนให้เด็กได้ดูด้วยว่าสิ่งที่เด็กบอกนั้นเขียนอย่างไร

กลุ่มที่ การสำรวจสิ่งที่ชอบ  เป็นการสำตรวจสัตว์ที่เด็กๆชอบว่าเด็กภายในห้องชอบสัตว์อะไรมากที่สุดและชอบสัตว์อะไรน้อยที่สุดโดยครูยกตัวอย่างสัตว์มาให้เด็กได้เลือก  ดังภาพ
           เมื่อเด็กๆเลือกแล้วครูก็มาสรุปกับเด็กๆว่ามีสัตว์อะไรที่เด็กชอบมากที่สุดและสัตว์อะไรที่เด็กชอบน้อยที่สุดแล้วครูก็เขียนให้เด็กดู




สรุปความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

         จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำสื่อการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากมายและยังเป็นสื่อที่น่ารักและสามารถนำกลับมาทำเองและประยุกต์เป็นสื่อต่างๆได้อีกมากมายทำให้ดิฉันรู้สึกว่าการเรียนครั้งนี้มีความสุขสนุกสนานมากในการเรียนและ ยังสามารถนำไปสอนให้กับเด็กๆในอนาคตได้เป็นอย่างดีสอนให้เด็กได้รู้จักเรื่องของ รูปทรงเรขาคณิต การนับจำนวนและตัวเลข ขนาด การจำแนกสี การเรียงลำดับ เรียนรู้การเปรียบเทียบ การจำแนก สัตว์ สิ่งของ และยังสามารถใช้เป็นสื่อในการเล่านิทานได้อีกด้วย 









วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 15 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
           วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมแต่งนิทานในห้องเป็น นิทานเล่มใหญ่  (Big Book) โดยที่อาจารย์เป็นคนขึ้นต้นเรื่องให้และในนิทานที่แต่งนั้นต้องมีเนื้อเรื่องที่มีเรื่องของคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเมื่ออาจารย์ได้เริ่มเรื่องขึ้นนักศึกษาในห้องก็ต่างช่วยกันแต่งเรื่อง ช่วยกันแต่งไปเรื่อยๆจนจบเรื่องและได้นิทานออกมาหนึ่งเรื่อง ชื่อนิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน และเมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ได้แบ่งกลุ่มกันในการทำเล่มนิทาน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะได้นิทานไปทำกลุ่มละหน้า

นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน
          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงานหมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

หลังจากได้แบ่งกลุ่มทำรูปเล่มเสร็จแล้วก็ได้นำมารวมกันเป็นเล่นและได้รูปเล่มออกมา ดังนี้
นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน



















เมื่อทำเสร็จก็ให้ตัวแทนเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน





สรุป สิ่งที่ได้รับและนำไปใช้
- ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบร่วมกัน
-  ได้เรียนรู้ การอ่าน การเขียน การนับจำนวน โดยที่ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรื่องรู้
- สามารถนำเอาเทคนิคในการแต่งนิทานไปแต่งนิทานได้อีกหลายเรื่อง
- สามารถนำเอาวิธีการทำรูปเล่มนิทานไปทำเป็นนิทานในรูปแบบต่างๆได้
- สามารถนำเอานิทานที่ได้แต่งขึ้นนี้ไปใช้สอนหรือเล่าให้เด็กๆฟังในอนาคตได้