วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 15 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
           วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมแต่งนิทานในห้องเป็น นิทานเล่มใหญ่  (Big Book) โดยที่อาจารย์เป็นคนขึ้นต้นเรื่องให้และในนิทานที่แต่งนั้นต้องมีเนื้อเรื่องที่มีเรื่องของคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเมื่ออาจารย์ได้เริ่มเรื่องขึ้นนักศึกษาในห้องก็ต่างช่วยกันแต่งเรื่อง ช่วยกันแต่งไปเรื่อยๆจนจบเรื่องและได้นิทานออกมาหนึ่งเรื่อง ชื่อนิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน และเมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ได้แบ่งกลุ่มกันในการทำเล่มนิทาน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะได้นิทานไปทำกลุ่มละหน้า

นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน
          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงานหมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

หลังจากได้แบ่งกลุ่มทำรูปเล่มเสร็จแล้วก็ได้นำมารวมกันเป็นเล่นและได้รูปเล่มออกมา ดังนี้
นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน



















เมื่อทำเสร็จก็ให้ตัวแทนเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาเล่าหน้าชั้นเรียน





สรุป สิ่งที่ได้รับและนำไปใช้
- ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบร่วมกัน
-  ได้เรียนรู้ การอ่าน การเขียน การนับจำนวน โดยที่ใช้นิทานเป็นสื่อในการเรื่องรู้
- สามารถนำเอาเทคนิคในการแต่งนิทานไปแต่งนิทานได้อีกหลายเรื่อง
- สามารถนำเอาวิธีการทำรูปเล่มนิทานไปทำเป็นนิทานในรูปแบบต่างๆได้
- สามารถนำเอานิทานที่ได้แต่งขึ้นนี้ไปใช้สอนหรือเล่าให้เด็กๆฟังในอนาคตได้







วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 8 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



สิ่งที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต

4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์                                                                                                                  
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
เมื่อเด็กจบอนุบาล 1-3 จะได้อะไรบ้างจากวิชาคณิตศาสตร์...?
1.เด็กต้องมีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระมาตรฐานและการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง


สาระที่ 2 การวัด
-มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนักและ ปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เช่น เด็กอนุบาลจะบอกได้ว่า ค่าของเงินไหนมากกว่า เงินไหนน้อยกว่า 5 บาท น้อยกว่า 10 ซื้อของได้แค่ 2 บาท 3 บาท 4บาท ถึง5 บาท ซื้อมากกว่านั้นไม่ได้แล้ว
**เด็กปฐมวัยจะไม่มีการวัดเป็นหน่วย เซนติเมตร มิลลิเมตร หรือ หน่วยต่างมาใช้ในการสอน แต่จะสอนโดยการนำสิ่งของรอบตัวมาวัดหรือใช้อวัยวะร่างกายมาวัด เช่น ช่วงก้าวของขา หรือ ความยาวของแขน ที่สามารถใช้วัดสิ่งของแทนได้

สาระที่ 3 เรขาคณิต
 -มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-การบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา   เป็นต้น
รูปเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิต
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา


สาระที่ 4  พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
          การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    กิจกรรมท้ายคาบ
          หลังจากได้เรียนรู้เรื่องของ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  ไปแล้วอาจก็ได้ให้ทำกิจกรรม โดยที่มีรูปทรงเรขาคณิตมาให้นักศึกษาได้เลือกไม่ว่าจะเป็น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม  โดยให้แต่ละคนเลือกรูปทรงที่ตนเองชอบไปคนละหนึ่งชิ้น เพื่อที่จะนำไปทำเป็นแบบในการวาดจากนั้นก็ให้วาดรูป รูปทรงเรขาคณิตลงในกระดาษ A4 ให้วาดที่กลางกระดาษ เมื่อวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็สั่งให้วาดรูปที่ตนเองวาดลงในกระดาษนั้นวาดให้เป็นสัตว์อะไรก็ได้ที่ตนเองอยากให้เป็นโดยที่มีรูปทรงเรขาคณิตนั้นเป็นฐานในการวาด 

ชิ้นงานที่ดิฉันได้ทำ


           ดิฉันเลือกเอารูปสามเหลี่ยมมาทำเป็นหัวสิงโตการทำหัวสิงโตนั้นวาดรูปสามเหลี่ยมใส่ในกระดาษสีก่อนแล้วค่อยเอามาติดที่กลางกระดาษแล้วก็ตกแต่งให้เป็นเจ้าสิงโตแบบเต็มตัว

สรุปสิ่งที่ได้
            จากการเรียนครั้งนี้ได้ความรู้ในเรื่องของ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เป็นอย่างมากได้รู้จักว่าเมื่อเราเป็นครูเราควรสอนเด็กในเรื่องของคณิตศาสตร์อย่างไรเด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ที่ดี และ ยังได้รู้ทักษะในการทำกิจกรรมโดยการนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาบูรณาการให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 1 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2557


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .





>>> ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก เทศกาลปีใหม่ไทย  <<<





บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 25 เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2556


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .



 >>> ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม <<<





บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน พุธ  ที่ 18 เดือน ธันวาคม  พ.ศ. 2556


เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 .






>>>ไม่มีการเรียนการสอนเนื้องจากอาจารย์ติดประชุมและให้นักศึกษาหยุดอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบกลางภาค<<<